ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่บล็อกวิชาเทคโนโลยีการศึกษา ของนางสาวทิพวัลย์ พยัควัลย์ โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงค่ะ

โครงการสอน

รหัสวิชา PC 9204 3(2-2-5) ชื่อวิชา เทคโนโลยีการศึกษา ( Education Technology )
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 อาจารย์ผู้สอน อ.ชวน ภารังกูล
โปรแกรมวิชา เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา คณะครุศาสตร์



คำอธิบายรายวิชา
...............ศึกษาความหมาย ขอบข่าย และความสำคัญของเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาต่อการเรียนการสอนวิธีระบบ กระบวนการสื่อความหมาย การจำแนกประเภทของสื่อการเรียนการสอน การเลือก การแนะนำให้รู้จักเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาที่เหมาะสมกับการเรียนการสอน การจัดหา การใช้ การผลิต การประเมินผลและการเก็บรักษาสื่อการเรียนการสอน ฝึกปฏิบัติผลิตสื่อหลักที่เหมาะสมกับสภาพชั้นเรียน

จุดประสงค์
1)ให้ผู้เรียนสามารถอธิบายถึงความหมาย หลักการ และแนวทางของการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษามาใช้กับการเรียนการสอนได้ถูกต้องและอย่างเหมาะสม
2)ให้ผู้เรียนสามารถประยุกต์วิธีระบบไปใช้กับการเรียนการสอน และชีวิตประจำวันได้
3)ให้ผู้เรียนสามารถอธิบายความหมาย คุณค่า ประเภทของสื่อการเรียนการสอน วิธีการเลือก และการนำสื่อมาใช้กับการเรียนการสอนได้อย่างถูกต้อง
4)ให้ผู้เรียนสามารถอธิบาย ความสำคัญ หลักในการออกแบบกราฟิกและสามารถผลิตวัสดุกราฟิกเพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนได้
5)ให้ผู้เรียนสามารถอธิบายวิธีการ ขั้นตอน และสามารถแสดงเกี่ยวกับสื่อการสอนประเภทกิจกรรมได้
6)ให้ผู้เรียนสามารถใช้ จัดเก็บ และการบำรุงรักษาโสตทัศนูปกรณ์พื้นฐานได้อย่างดี
7)ให้ผู้เรียนสามารถอธิบายถึงแนวทางการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแนวโน้มของเทคโนโลยีการศึกษาในอนาคตได้

การวัดผลประเมินผล
1.คะแนนระหว่างภาคเรียน
...1.1การเข้าเรียนและมีส่วนร่วม 10 คะแนน
...1.2วิเคราะห์และออกแบบระบบการเรียน 10 คะแนน
...1.3ออกแบบวัสดุกราฟิก 15 คะแนน
...1.4ปฏิบัติการประยุกต์สื่อ ICT 10 คะแนน
...1.5การออกแบบสื่อเพื่อการศึกษา 15 คะแนน
...1.6ปฏิบัติการใช้โสตทัศนูปกรณ์ 10 คะแนน
2.คะแนนปลายภาคเรียน
...สอบปลายภาคเรียน 30 คะแนน

เกณฑ์การให้คะแนน
A 80-100 คะแนน B+ 75-79 คะแนน
B 70-74 คะแนน C+ 65-69 คะแนน
C 60-64 คะแนน D+ 55-59 คะแนน
D 50-54 คะแนน E 0-49 คะแนน

วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552

แบบฝึกหัด จงอธิบายคำถามให้ได้ใจความสมบูรณ์

1. อธิบายความหมายของระบบและวิธีระบบได้
-ความหมายของระบบระบบ (System) หมายถึง การรวมกลุ่มของสิ่งต่าง ๆ หรือกระบวนการต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กัน เพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้ หากสิ่งใดหรือกระบวนการใดมีการเปลี่ยนแปลง จะกระทบกระเทือนสิ่งอื่น ๆ หรือกระบวนการอื่น ๆ ไปด้วยสรุป ได้ว่า ระบบจะต้องมี1. องค์ประกอบ 2. องค์ประกอบจะต้องมีความสัมพันธ์กัน 3. ระบบต้องมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจกรรมนั้น ๆ

2. บอกองค์ประกอบของระบบและยกตัวอย่างขององค์ประกอบแต่ละอย่างได้
-ระบบโดยทั่วไป จะมีองค์ประกอบดังนี้2.2.1 สิ่งนำเข้า (Input) ได้แก่ การกำหนดปัญหา จุดมุ่งหมายทรัพยากรที่ใช้ 2.2.2 กระบวนการ (Process) ได้แก่การลงมือแก้ปัญหา การวิเคราะห์ข้อมูล การนำวัตถุดิบมาใช้ มาจัดกระทำอย่างเหมาะสมเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมาย 2.2.3 ผลผลิต (Output) คือผลที่ได้จากการแก้ปัญหาหรือสรุปการวิเคราะห์เพื่อประเมินต่อไป 2.2.4 ผลย้อนกลับ (Feedback) คือการตรวจสอบผลผลิตเพื่อปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพต่อไป ซึ่งองค์ประกอบดังกล่าวจะมีความสัมพันธ์กันในการกำหนดขั้นตอนการดำเนินงานและการแก้ปัญหาเพื่อทำให้ผลที่ได้มีประสิทธิภาพการดำเนินงานลักษณะนี้เรียกว่า วิธีระบบ (System Approach)

3. บอกความสำคัญของวิธีระบบกับกระบวนการการสอนได้
-เป็นการนำเอารูปแบบของระบบมาใช้ในการจัดทำโครงร่าง และกรอบของการจัดการเรียนการสอน ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินการเรียนการสอน เป็นไปอย่างมีขั้นตอนที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ทำให้ผลที่ได้เกิดประสิทธิผลตามจุดมุ่งหมายที่ต้องการตามแผนภาพที่แสดงให้เห็น การกำหนดระบบการสอน

4. วิเคราะห์ขั้นตอนของรูปแบบจำลอง ASSURE ในการนำมาใช้ในการวางแผนการสอนได้
-เป็นวิธีระบบรูปแบบหนึ่งที่นำมาจากแนวคิดของไชน์พิชและคณะ (1993) โดยมีระบบการดำเนินงานตามลำดับขั้นดังนี้A = ANALYZE LEARNER'S CHARACTERISTICS การวิเคราะห์ผู้เรียน ที่สำคัญได้แก่ การวิเคราะห์พฤติกรรมเบื้องต้น และความต้องการของผู้เรียน ทั้งในด้าน 1. ข้อมูลทั่วไป เช่น อายุ เพศ ระดับการศึกษา เจตคติ ระบบสังคม วัฒนธรรม 2. ข้อมูลเฉพาะ ซึ่งเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเรียนการสอน เช่น ประสบการณ์เดิม ทักษะ เจตคติ ความรู้พื้นฐาน และความสามารถในบทเรียนนั้นเพียงใด การวิเคราะห์จะช่วยให้ผู้สอน สามารถตัดสินใจเลือกสื่อและจุดมุ่งหมายการเรียน การสอนได้อย่างเหมาะสม1. วิธีการปฏิบัติ PERFORMANCE (ทำอะไร) การเขียนจุดมุ่งหมายควรใช้คำกริยาหรือข้อความที่สังเกตพฤติกรรมได้ เช่น ให้คำจำกัดความ อธิบาย บอก หรือจำแนก เป็นต้น 2. เงื่อนไข CONDITIONS (ทำอย่างไร) การเขียนจุดมุ่งหมายการเรียนควรกำหนดเงื่อนไขที่จำเป็นภายใต้การปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ การกำหนดเงื่อนไข เช่น บวกเลขในใจโดยไม่ใช้กระดาษวาด หรือ ผสมแป้งโดยใช้ช้อน เป็นต้น 3. เกณฑ์ CRITERIA (ทำได้ดีเพียงไร) มาตรฐานการปฏิบัติซึ่งควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงเช่นระดับของความสามารถในการปฏิบัติ ระดับของความรู้ที่จำเป็น เพื่อการศึกษาต่อในหน่วยการเรียนที่สูงขึ้นไปS = SELECT, MODIFY OR DESIGN MOTHODS AND MATERIALS การกำหนดสื่อการเรียนการสอน อาจดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 ประการดังนี้ คือ 1) การเลือกใช้สื่อการเรียนการสอน 2) ดัดแปลงจากสื่อวัสดุที่มีอยู่แล้ว 3) การออกแบบสื่อใหม่U = UTILIZE METHODS AND MATERIALS กิจกรรมการใช้สื่อการเรียนการสอน พิจารณาได้ 3 ลักษณะคือ 1) การใช้สื่อประกอบการสอนของผู้สอน เช่น ประกอบคำบรรยาย และอธิบาย 2) การใช้สื่อเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนของผู้เรียน เช่น ชุดการสอน บทเรียนด้วยตนเอง 3) การใช้สื่อร่วมกันระหว่างผู้เรียนและผู้สอน เช่น เกม สถานการณ์จำลอง และการสาธิต การมีส่วนร่วมของผู้เรียน การใช้สื่อการเรียนการสอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมี ส่วนร่วมหรือได้ลงมือกระทำร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนได้มากที่สุด

5. ยกสถานการณ์การสอนที่สอดคล้องกับรูปแบบจำลอง ASSURE ได้ถูกต้อง
-การรวบรวมสถิติของนักเรียนที่ชอบกินผักและไม่ชอบกินผัก แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์และสรุปผล

6. บอกวิธีการพิจารณาในการออกแบบการสอนได้ถูกต้อง
-1. โปรแกรมการสอนนี้ จะออกแบบสำหรับใคร (คำตอบก็คือ ผู้เรียน ดังนั้น ขั้นแรกจึงต้องศึกษา คุณลักษณะของผู้เรียน) 2. ต้องการให้ผู้เรียนเรียนรู้อะไร หรือมีความสามารถที่จะทำอะไรได้บ้าง (คำตอบก็คือจุดมุ่งหมายการเรียน) 3. เนื้อหาวิชาหรือทักษะต่าง ๆ ที่ผู้เรียนจะต้องศึกษาให้บรรลุจุดมุ่งหมายของการเรียนนั้นจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดอย่างไร (คำตอบก็คือต้องคิดหาวิธีสอน สื่อและกิจกรรมการเรียนการสอน ฯลฯ) 4. จะรู้ได้อย่างไรว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้หรือไม่ หรือเกิดการเรียนรู้มากน้อยเพียงใด (คำตอบก็คือ ต้องคิดหาวิธีประเมิน

7.จงยกตัวอย่างการนำความรู้เรื่องวิธีระบบไปประยุกต์ใช้กับการเรียน หรือการดำเนินชีวิตประจำวันของท่าน มา 1 ตัวอย่าง พร้อมอธิบายขั้นตอนและวิธีดำเนินการ
-การเรียนเทคโนโลยีทางการศึกษาที่ต้องตอบคำถามโดยการส่งผ่านทางblogโดยที่สามารถไม่ต้องพบกับอาจารย์ผู้สอนโดยตรงเเต่ใช้blogเป็นสื่อการเรียนการสอนได้

วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่1

1.จงบอกความหมายของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษามาอย่างถูกต้อง
ตอบ เทคโนโลยีคือการนำเอาขบวนการ วิธีการ และแนวความคิดใหม่ๆ มาใช้อย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพแต่นวัตกรรมคือความคิดและการกระทำใหม่ๆมาปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

2.จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีและนวัตกรรมในสาขาต่างๆมาอย่างน้อย 5 สาขา
ตอบ 1.เทคโนโลยีทางการทหาร
2.เทคโนโลยีทางการแพทย์
3.เทคโนโลยีทางการเกษตร
4.เทคโนโลยีทางการสื่อสาร
5.เทคโนโลยีทางการศึกษา

3.จงอธิบายเปรียบเทียบความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษาตามทัศนะทางวิทยาศาสตร์กายภาพและทางพฤติกรรมศาสตร์ให้ชัดเจน
ตอบ ทัศนะทางวิทยาศาสตร์กายภาพคือจะมุ่งเน้นไปที่วัสดุอุปกรณ์แต่ทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์คือการมุ่งเน้นไปที่พฤติกรรมของมนุษย์

4.จงบอกความหมายของการศึกษาตามความเข้าใจของบุคคลในระดับต่างๆอย่างน้อย 3 ระดับ
ตอบ 1.บุคคลธรรมดาสามัญ
2.บุคคลในวิชาชีพทางการศึกษา
3.บุคคลที่เป็นนักศึกษา

5.เทคโนโลยีการศึกษามีกี่ระดับ แต่ละระดับมีความหมายว่าอย่างไร จงอธิบายพอเข้าใจ
ตอบ มี 3 ระดับคือ
1.ระดับอุปกรณ์การสอนคือใช้เทคโนโลยีการสอนในระดับเครื่องช่วยการสอนของครู
2.ระดับวิธีสอนคือใช้เทคโนโลยีแทนการสอนด้วยตัวครูเอง
3.ระดับการจัดระบบการศึกษาคือใช้เทคโนโลยีการศึกษาระดับกว้างสามารถตอบสนองผู้เรียนได้จำนวนมาก

6.จงอธิบายข้อแตกต่างและความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้ชัดเจน
ตอบ ข้อแตกต่างคือเทคโนโลยีคือนำของเก่ามาพัฒนาส่วนนวัตกรรมคือการคิดขึ้นใหม่และความสัมพันธ์คือนำมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

7.จงบอกถึงขั้นตอนของการเกิดนวัตกรรมมาให้ถูกต้อง
ตอบ 1.การประดิษฐ์คิดค้น
2.ขั้นการพัฒนาการ
3.ขั้นการนำไปใช้หรือปฏิบัติจริง

8.จงบอกถึงบทบาทของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษากับการจัดการเรียนการสอนมาอย่างน้อย 5 ข้อ
ตอบ 1.ช่วยให้ผู้เรียนเรียนได้กว้างขวางมากขึ้น
2.ให้การจัดการศึกษาดีขึ้น
3.มีบทบทาทสำคัญต่อการพัฒนาสื่อการสอน
4.ช่วยเพิ่มโอกาสทางการศึกษาของผู้เรียน
5.ทำให้ผู้เรียนไม่เน้นความรู้อย่างเดียว

9.จงยกตัวอย่างวัตกรรมการศึกษาในปัจจุบันอย่างน้อย 3 ชนิด
ตอบ 1.การสอนแบบโปรแกรม
2.ศูนย์การเรียน
3.ชุดการสอน

10.จงอธิบายถึงสาเหตุของการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ทางการศึกษาอย่างน้อย 3 ข้อ
ตอบ 1.การเพิ่มจำนวนประชากร
2.การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม
3.ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการใหม่

11.จงอธิบายถึงแนวคิดในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมกับการศึกษาไทยอย่างน้อย 5 ข้อ
ตอบ 1.ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่สมบูรณ์
2.ทำให้ผ้เรียนมีคุณภาพของการสำเร็จการศึกษา
3.จัดการศึกษาให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
4.ต้องการให้ผู้เรียนทำงานสำเร็จด้วยตนเอง
5.จ้การศึกษาอย่างเป็นระบบ

12.จงยกตัวอย่างและแนวทางในการแก้ไขของการขาดลักษณะที่พึงประสงค์ของคนไทยมาอย่างน้อย 3 ประการ
ตอบ 1.กล้าและรู้จักแสดงความคิดเห็น
2.สามารถตัดสินใจด้วยตนเอง
3.รู้จักทำวานร่วมกันป็นหมู่อย่างมีประสิทธิภาพ

ทำไมครูจึงจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีการศึกษา

1.เพื่อให้มีจุดสนใจในการเรียนมากขึ้น

2.มีประสิทธิภาพ สะดวก รวดเร็วในการใช้งาน

3.ประหยัดเวลาในการสอนมากยิ่งขึ้น

4.ทำการเรียนการสอนให้เป็นระบบมากยิ่งขึ้น

5.ช่วยถ่ายทอดความรู้ใหม่ๆให้แก่นักศึกษา

6.เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษาและนำมาดัดแปลง
เพื่อใช้ในการทำงานของตนเองได้

ทำอย่างไรเพื่อใช้เทคโนโลยีการศึกษาให้เกิดประโยชน์สูงสุด

1.นำมาใช้ทำสื่อการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียนได้

2.ใช้ให้เหมาะสมกับวิชาที่จะสอน

3.สร้างความสนใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษาให้กับผู้เรียน

4.สร้างความแปลกใหม่ที่เข้าใจง่ายเพราะมีเนื้อหาที่ครอบคลุม

5.สามารถสืบค้นและหาข้อมูลโดยไม่ต้องเปิดหนังสือ