ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่บล็อกวิชาเทคโนโลยีการศึกษา ของนางสาวทิพวัลย์ พยัควัลย์ โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงค่ะ

โครงการสอน

รหัสวิชา PC 9204 3(2-2-5) ชื่อวิชา เทคโนโลยีการศึกษา ( Education Technology )
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 อาจารย์ผู้สอน อ.ชวน ภารังกูล
โปรแกรมวิชา เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา คณะครุศาสตร์



คำอธิบายรายวิชา
...............ศึกษาความหมาย ขอบข่าย และความสำคัญของเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาต่อการเรียนการสอนวิธีระบบ กระบวนการสื่อความหมาย การจำแนกประเภทของสื่อการเรียนการสอน การเลือก การแนะนำให้รู้จักเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาที่เหมาะสมกับการเรียนการสอน การจัดหา การใช้ การผลิต การประเมินผลและการเก็บรักษาสื่อการเรียนการสอน ฝึกปฏิบัติผลิตสื่อหลักที่เหมาะสมกับสภาพชั้นเรียน

จุดประสงค์
1)ให้ผู้เรียนสามารถอธิบายถึงความหมาย หลักการ และแนวทางของการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษามาใช้กับการเรียนการสอนได้ถูกต้องและอย่างเหมาะสม
2)ให้ผู้เรียนสามารถประยุกต์วิธีระบบไปใช้กับการเรียนการสอน และชีวิตประจำวันได้
3)ให้ผู้เรียนสามารถอธิบายความหมาย คุณค่า ประเภทของสื่อการเรียนการสอน วิธีการเลือก และการนำสื่อมาใช้กับการเรียนการสอนได้อย่างถูกต้อง
4)ให้ผู้เรียนสามารถอธิบาย ความสำคัญ หลักในการออกแบบกราฟิกและสามารถผลิตวัสดุกราฟิกเพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนได้
5)ให้ผู้เรียนสามารถอธิบายวิธีการ ขั้นตอน และสามารถแสดงเกี่ยวกับสื่อการสอนประเภทกิจกรรมได้
6)ให้ผู้เรียนสามารถใช้ จัดเก็บ และการบำรุงรักษาโสตทัศนูปกรณ์พื้นฐานได้อย่างดี
7)ให้ผู้เรียนสามารถอธิบายถึงแนวทางการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแนวโน้มของเทคโนโลยีการศึกษาในอนาคตได้

การวัดผลประเมินผล
1.คะแนนระหว่างภาคเรียน
...1.1การเข้าเรียนและมีส่วนร่วม 10 คะแนน
...1.2วิเคราะห์และออกแบบระบบการเรียน 10 คะแนน
...1.3ออกแบบวัสดุกราฟิก 15 คะแนน
...1.4ปฏิบัติการประยุกต์สื่อ ICT 10 คะแนน
...1.5การออกแบบสื่อเพื่อการศึกษา 15 คะแนน
...1.6ปฏิบัติการใช้โสตทัศนูปกรณ์ 10 คะแนน
2.คะแนนปลายภาคเรียน
...สอบปลายภาคเรียน 30 คะแนน

เกณฑ์การให้คะแนน
A 80-100 คะแนน B+ 75-79 คะแนน
B 70-74 คะแนน C+ 65-69 คะแนน
C 60-64 คะแนน D+ 55-59 คะแนน
D 50-54 คะแนน E 0-49 คะแนน

วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552

แบบฝึกหัด

จงวิเคราะห์ว่ามัลติมีเดียมีความสำคัญต่อสื่อการเรียนการสอนในยุคปัจจุบันอย่างไร
ตอบ ในปัจจุบัน เมื่อกล่าวถึงคำว่า สื่อมัลติมีเดีย จะหมายถึง การใช้คอมพิวเตอร์แสดงผล ในลักษณะผสมสื่อหลายชนิดเข้าด้วยกัน โดยเน้นที่การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เห็น ได้เลือก และรับฟังข้อมูลข่าวสารผ่านจอคอมพิวเตอร์ โดยข้อมูล และข่าวสารต่างๆ จะรวมรูปแบบของ ตัวอักษร รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง และ วีดีโอ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถตอบโต้ และมีปฎิสัมพันธ์กับสื่อโดยตรงได้ และเมื่อนำสื่อมัลติมีเดียมาใช้กับการศึกษา จึงนิยมเรียกว่าสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา
.......ในการนำคอมพิวเตอร์มาใช้กับการเรียนการสอนนั้น จึงจำเป็นต้องนำแนวคิดของทฤษฎีต่าง ๆ มาผสมผสานกัน เพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะ และโครงสร้างขององค์ความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยเพียงทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อให้ได้สื่อการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ตอบสนองต่อวิธีการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน และตอบสนองลักษณะโครงสร้างขององค์ความรู้ของสาขาวิชาต่าง ๆ ที่แตกต่างกันนั่นเอง

วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552

คำถามทบทวน (บทที่ 4)

1.สื่อการสอนมีความสัมพันธ์กับการเรียนการสอนอย่างไร
ตอบ เป็นตัวกลางที่จะช่วยนำและถ่ายทอดข้อมูลความรู้ จากครูผู้สอน หรือจากแหล่งความรู้ไปยังผู้เรียน เป็นสิ่งช่วยอธิบาย และขยายเนื้อหาบทเรียน ให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น เพื่อบรรลุถึงวัตถุประสงค์การเรียนที่ตั้งไว้

2.สื่อการสอนสามารถจำแนกได้เป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
ตอบ จำแนกประเภทของสื่อการสอนเป็น 3 ประเภทดังนี้
-1. อุปกรณ์ (Hardware)
-2. วัสดุ (Software)
-3. เทคนิคและวิธีการ (Technique and Method)

3.เอดการ์ เดล ใช้อะไร ? เป็นเกณฑ์ในการแบ่งประเภทของสื่อการสอน
ตอบ โดยพิจารณาจากลักษณะของประสบการณ์ที่ได้รับจากสื่อการสอนประเภทนั้น โดยยึดถือเอาความเป็นนามธรรมและรูปธรรมเป็นหลักในการจัดแบ่งประเภท เขาถือว่าประสบการณ์ที่นักเรียนกระทำตรงโดยมีจุดมุ่งหมายนั้น เป็นประสบการณ์ที่มีความเป็นรูปธรรมมากที่สุด ส่วนประสบการณ์ที่ได้จากสื่อประเภทอื่น ๆ นั้นมีความเป็นรูปธรรมลดน้อยไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งมีความเป็นนามธรรมมากที่สุดคือ ประสบการณ์จากสื่อการสอนประเภทวจนสัญลักษณ์ เดลได้เขียนให้เห็นความเกี่ยวพันของประสบการณ์จากสื่อต่าง ๆ เอาไว้ด้วย เรียกว่า กรวยประสบการณ์ (Cone of Experience)

4.ให้บอกคุณค่าทั่วไปของสื่อการสอนมา 5 อย่าง
ตอบ -1.1 ทำสิ่งซับซ้อนให้ดูง่ายขึ้น
-1.2 ทำสิ่งที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น
-1.3 ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ดูช้าลง
-1.4 ทำสิ่งที่เคลื่อนไหวหรือเปลี่ยนแปลงช้าให้ดูเร็วขึ้น
-1.5 ทำสิ่งที่ใหญ่มากให้เล็กเหมาะแก่การศึกษา

5.ขั้นตอนในการใช้สื่ออย่างเป็นระบบมีอะไรบ้าง
ตอบ Analyze Learner Characteristics การวิเคราะห์ลักษณะผู้เรียน
State Objectives การกำหนดวัตถุประสงค์
Select, Modify, or Design Materials การเลือก ดัดแปลง หรือออกแบบสื่อใหม่
Utilize Materials การใช้สื่อ
Require Learner Response การกำหนดการตอบสนองของผู้เรียน
Evaluation การประเมิน

6.ท่านมีวิธีการเลือกสื่อมาใช้กับการเรียนการสอนอย่างไร
ตอบ การใช้สื่อการสอนจะมุ่งเน้นทั้งประสิทธิภาพและประสิทธิผล ดังนั้นการศึกษาหลักการเกี่ยวกับการใช้สื่อการสอนจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้สอนเพื่อเป็นแนวทางให้สามารถเลือกใช้เทคนิคได้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกัลป์ปบหลักการอื่นๆในการจัดการเรียนการสอนอย่างแท้จริง

7.วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม มีส่วนประกอบอะไรบ้าง
ตอบ 2.3.1 พุทธิพิสัย เป็นวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เพื่อวัดการเรียนรู้ของผู้เรียนเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจ สติปัญญา และพัฒนาการ 2.3.2 จิตพิสัย เป็นวัตถุประสงค์ทางด้านความคิด ทัศนคติ ความรู้สึก ค่านิยม และการเสริมสร้างทางปัญญา
2.3.3 ทักษะพิสัย เป็นวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวกับการกระทำ การแสดงออก หรือ


8.ท่านคิดว่าสื่อการสอนเป็นประโยชน์ต่อครูผู้สอนอย่างไร
ตอบ ช่วยให้บรรยากาศในการสอนน่าสนใจยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการแบ่งเบาภาระของผู้สอน โดยบางครั้งอาจให้ผู้เรียนศึกษาเนื้อหาเองจากสื่อได้ ในการใช้สื่อการสอน หากผู้สอนได้มีการวางแผนอย่างเป็นระบบก็จะช่วยให้การใช้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

9.การได้ทราบประเภท และคุณสมบัติของสื่อ ช่วยท่านในการเลือกผลิตและใช้สื่ออย่างไร
ตอบ การผลิตและการเลือกใช้สื่อควรเลือกให้ตรงตามเนื้อหาที่จะใช้สอนให้เหมาะสมกับเพศและวัยที่ศึกษา และควรมีจุดประสงค์ที่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน

10.ปัจจุบันสื่ออิเล็กทรอนิกส์เข้ามามีบทบาทกับการศึกษาทุกระดับ ท่านมีความคิดเห็นต่อเรื่องนี้อย่างไร
ตอบ ปัจจุบันนี้การเรียนการสอนส่วนใหญ่จะใช้สื่อที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์เพราะผู้สอนใช้อย่างสะดวกสบาย และทำให้ผู้เรียนมีความสนใจในการเรียนมากยิ่งขึ้น

วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

คำถามทบทวน (บทที่ 3)

7. จงยกตัวอย่างแบบจำลองของการสื่อสารมา 1 แบบ
ตอบ 1. แบบจำลองของลาสแวลล์ (lasswell)
ลาสแวลล์ เป็นนักรัฐศาสตร์ชาวอเมริกันได้คิดรูปแบบของการสื่อสาร ออกมาว่า การจะอธิบายระบบการสื่อสารนั้น เราควรจะถามตนเองว่า
Who คือใคร ใครเป็นคนพูด
Say What พูดเรื่องอะไร
In Which Channel ใช้ช่องทางใด
To Whom กับใคร(ผู้รับสาร)
With What Effectได้ผลอย่างไร


8. จงเปรียบเทียบองค์ประกอบของการสื่อสาร กับการเรียนการสอน
ตอบ องค์ประกอบที่สำคัญของการสื่อสารประกอบด้วย
1.ผู้ส่งสาร (Source) คือ ผู้ที่นำข่าวสารเรื่องราว ความรู้ ความคิด ตลอดจนเหตุการณ์
ต่างๆเพื่อส่งไปยังผู้รับซึ่งอาจเป็นบุคคล กลุ่มบุคคล องค์กร หรือสถาบันก็ได้ เช่น ผู้อ่าน ข่าว ครู สถาบันการศึกษา เป็นต้น
2.เรื่องราว (Message) ได้แก่ เนื้อหาของสารหรือเรื่องราวที่ส่งออกมา เพื่อให้ผู้รับรับ
ข้อมูลเหล่านั้น เช่น ความรู้ ความคิด ข่าวสาร เหตุการณ์ต่างๆ เป็นต้น
3.สื่อ (Channel) หมายถึง ตัวกลางที่ช่วยถ่ายทอดแนวคิด ความรู้ เหตุการณ์ต่างๆที่ผู้
ส่งต้องการให้ไปถึงผู้รับ สื่อที่ใช้มากก็คือ ภาษาพุด ภาษาเขียน
4.ผู้รับสาร (Receiver ) ได้แก่ ผู้ที่รับเนื้อหาของสารหรือเรื่องราวที่ผู้ส่งสารส่งมา ผู้รับ
นี้อาจเป็นบุคคล กลุ่มชน องค์กร หรือสถาบันก็ได้ เมื่อรับเรื่องราวแล้วผู้รับต้องมี การแปลข่าวสารนั้นให้เข้าใจ เหตุการณ์ ส่วน อุปสรรคในการสื่อสารในกระบวนการสื่อสารนั้น ปริมาณของข่าวสารซึ่งออกจากผู้ส่งจะไปยังผู้รับเต็มจำนวนร้อยเปอร์เซนต์หรือไม่ พบว่าโดยข้อเท็จจริงแล้วปริมาณของข่าวสารจากผู้ส่งสารจะถ่ายทอดไปถึงผู้รับไม่ครบถ้วน เนื่องจากความไม่สมบูรณ์ขององค์ประกอบในขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
1. ความสามารถในการเข้ารหัส ผู้ส่งสารอาจขาดความสามารถในการแปลความต้องการของตนให้เป็น1. การสื่อสารมีความสำคัญกับการเรียนรู้อย่างไร
ตอบ การสื่อสาร เป็นกระบวนการที่มนุษย์ติดต่อถ่ายทอดเรื่องราว แลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร สร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารโดยผ่านสื่อต่างๆ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้รับอย่างมีวัตถุประสงค์ ดังนั้นการถ่ายทอดความรู้ในการเรียนการสอน ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน จึงจำเป็นต้องดำเนินไปตามกระบวนการการสื่อสารด้วยเช่นกัน
ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้บังเกิดประสิทธิภาพ จำเป็นที่ผู้สอนจะต้องนำกระบวนการสื่อสารมาปรับใช้กับกระบวนการเรียนการสอน เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพของสื่อ และการป้องกันสิ่งรบกวน เป็นต้น


2. องค์ประกอบของการสื่อสาร มีอะไรบ้าง
ตอบ องค์ประกอบที่สำคัญของการสื่อสารประกอบด้วย
1.ผู้ส่งสาร (Source) คือ ผู้ที่นำข่าวสารเรื่องราว ความรู้ ความคิด ตลอดจนเหตุการณ์
ต่างๆเพื่อส่งไปยังผู้รับซึ่งอาจเป็นบุคคล กลุ่มบุคคล องค์กร หรือสถาบันก็ได้ เช่น ผู้อ่าน ข่าว ครู สถาบันการศึกษา เป็นต้น
2.เรื่องราว (Message) ได้แก่ เนื้อหาของสารหรือเรื่องราวที่ส่งออกมา เพื่อให้ผู้รับรับ
ข้อมูลเหล่านั้น เช่น ความรู้ ความคิด ข่าวสาร เหตุการณ์ต่างๆ เป็นต้น
3.สื่อ (Channel) หมายถึง ตัวกลางที่ช่วยถ่ายทอดแนวคิด ความรู้ เหตุการณ์ต่างๆที่ผู้
ส่งต้องการให้ไปถึงผู้รับ สื่อที่ใช้มากก็คือ ภาษาพุด ภาษาเขียน
4.ผู้รับสาร (Receiver ) ได้แก่ ผู้ที่รับเนื้อหาของสารหรือเรื่องราวที่ผู้ส่งสารส่งมา ผู้รับ
นี้อาจเป็นบุคคล กลุ่มชน องค์กร หรือสถาบันก็ได้ เมื่อรับเรื่องราวแล้วผู้รับต้องมี การแปลข่าวสารนั้นให้เข้าใจ เหตุการณ์


3. จงเขียนแผนผังของกระบวนการสื่อสาร
ตอบ ผู้ส่งสาร -> การเข้ารหัส -> สัญญาณ -> การถอดรหัส - ผู้รับสาร


4. ในกระบวนการเรียนการสอนนั้น ทำไมครูจึงควรใช้รูปแบบการสื่อสาร 2 ทาง
คนเราสามารถรับรู้ทางใดมากที่สุด ในปริมาณเท่าไร
ตอบ การรับรู้เป็นกระบวนการที่มนุษย์สนใจต่อสิ่งรอบ ๆ ตัว ในการรับรู้จะต้องอาศัยประสาทสัมผัส ซึ่งได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และกายสัมผัสโดยในบรรดาประสาทสัมผัสทั้ง 5 นั้น ได้มีผู้ทำการวิจัย พบว่า มนุษย์เราสามารถรับรู้ได้มากที่สุดคือทางตาประมาณ 75% รองลงมาคือทางหูด้วยการได้ยิน 13% นอกนั้นเป็นการรับรู้ทางกาย จมูก และลิ้น (จันทร์ฉาย เตมิยาคาร. 2533 : 49) ซึ่งประสาทสัมผัสเหล่านี้จะรวบรวมข้อมูลแล้วส่งข้อมูลไปยังระบบประสาท สิ่งที่เราประทับใจจะเปลี่ยนเป็นแรงกระตุ้นและเกิดปฏิกริยาต่อเนื่องในสมอง ซึ่งมีผลทำให้มนุษย์เกิดความสนใจในวัตถุหรือเหตุการณ์นั้น ๆ ในการรับรู้ของคนเรานั้นมีหลักของการรับรู้ที่สำคัญ


5. องค์ประกอบที่สำคัญในการเรียนรู้มีอะไรบ้าง
ตอบ องค์ประกอบของการเรียนรู้การที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ในปริมาณมากน้อย หรือมีประสิทธิภาพเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่าง ๆ หลายประการ (สมศักดิ์ เจียมทะวงษ์. 2519 : 20-26) คือ
1. แรงจูงใจ (Motive) คนเราจะเรียนรู้ได้ดีหากเขามีแรงจูงใจสูงในบทเรียน ที่เขาจะเรียน
เช่น เรื่องนั้นแปลกใหม่ น่าตื่นเต้น หรือตรงความต้องการของเขา
2. กระบวนการสอน (Teaching procedure) แม้ว่าผู้เรียนจะมีความตั้งใจที่จะเรียนเพียงใด แต่ถ้ากระบวนการสอนของครูไม่ดีพอ ก็อาจส่งผลให้การเรียนรู้ของผู้เรียนขาดประสิทธิภาพได้
3. กระบวนการเรียน (Studying Procedure) การเรียนรู้ของคนเรานั้น เกิดจากการที่
ประสาทสัมผัส (Sense) ได้รับการเร้าจากสิ่งเร้า (Stimulus) บุคคลจะสามารถเรียนรู้และเข้าใจสิ่งเร้านั้นได้ถูกต้องมากน้อยเพียงใดก็ย่อมขึ้นอยู่กับระดับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า และการเรียนรู้นั้นจะมีประสิทธิภาพเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับว่ากระบวนการเรียนของเขานั้นได้มีโอกาสสัมผัสกับสิ่งเร้าโดยตรงมากน้อยเพียงใดด้วย ดังนั้นการที่ผู้เรียนได้เรียนจากกระบวนการเรียนที่ตนเองได้มีโอกาสสัมผัสมาก ๆ จะทำให้เกิดความเข้าใจและเกิดการรับรู้ที่ถูกต้องกว่าการเรียนจากคำบอกเล่า หรือท่องจำอย่างเดียว


6. อุปสรรคในการสื่อความหมาย มีอะไรบ้าง
ตอบ อุปสรรคในการสื่อสารในกระบวนการสื่อสารนั้น ปริมาณของข่าวสารซึ่งออกจากผู้ส่งจะไปยังผู้รับเต็มจำนวนร้อยเปอร์เซนต์หรือไม่ พบว่าโดยข้อเท็จจริงแล้วปริมาณของข่าวสารจากผู้ส่งสารจะถ่ายทอดไปถึงผู้รับไม่ครบถ้วน เนื่องจากความไม่สมบูรณ์ขององค์ประกอบในขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
1. ความสามารถในการเข้ารหัส ผู้ส่งสารอาจขาดความสามารถในการแปลความต้องการของตนให้เป็นสัญญาณ เช่น บางคนมีความคิดแต่ไม่รู้จะถ่ายทอดความคิดให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร
2. ความบกพร่องของสื่อและช่องทาง เช่น สื่อที่ใช้ในการถ่ายทอดไม่ชัดเจน ไม่เป็นรูปธรรม ตลอดจนความบกพร่องของช่องทางในการรับส่งสัญญาณ เช่น ตาไม่ดี หูไม่ดี เป็นต้น
3. มีสิ่งรบกวนสัญญาณ (Noise) แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้
3.1 สิ่งรบกวนภายนอก ได้แก่ ความไม่สะดวกทางกายภาพ เช่น ความแออัดของสถานที่ เสียงรบกวนที่ดัง กลิ่นที่ไม่พึงประสงค์
3.2สิ่งรบกวนภายใน ได้แก่ อุปสรรคที่มาจากภายในตัวของผู้ส่งสารและผู้รับ
สาร เช่น ความเครียด อารมณ์ที่ขุ่นมัว จิตใจเลื่อนลอย เป็นต้น
4. ความสามารถในการถอดรหัสสัญญาณของผู้รับสาร ได้แก่ ข้อจำกัดในการรับสัญญาณและการแปลความหมาย ซึ่งจำแนกได้ดังนี้
4.1 อุปสรรคทางด้านภาษา (Verbalism) ได้แก่ ความไม่เข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อภาษาที่
ใช้ในการสื่อความหมาย
4.2 ความขัดแย้งกับประสบการณ์เดิม (Referent Confusion)
4.3 ขีดจำกัดของการรับรู้จากประสาทสัมผัส (Limited Perception)
4.4 สภาพร่างกายที่ไม่พร้อม (Physical Discomfort)
4.5 การไม่ยอมรับ(Inpercerption)
4.6 จินตภาพ (Image) ของข่าวสารไม่ตรงกัน
สัญญาณ เช่น บางคนมีความคิดแต่ไม่รู้จะถ่ายทอดความคิดให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร
2. ความบกพร่องของสื่อและช่องทาง เช่น สื่อที่ใช้ในการถ่ายทอดไม่ชัดเจน ไม่เป็นรูปธรรม ตลอดจนความบกพร่องของช่องทางในการรับส่งสัญญาณ เช่น ตาไม่ดี หูไม่ดี เป็นต้น
3. มีสิ่งรบกวนสัญญาณ (Noise) แบ่งออกเป็น 2 ประเภทดังนี้
3.1 สิ่งรบกวนภายนอก ได้แก่ ความไม่สะดวกทางกายภาพ เช่น ความแออัดของสถานที่ เสียงรบกวนที่ดัง กลิ่นที่ไม่พึงประสงค์
3.2สิ่งรบกวนภายใน ได้แก่ อุปสรรคที่มาจากภายในตัวของผู้ส่งสารและผู้รับ
สาร เช่น ความเครียด อารมณ์ที่ขุ่นมัว จิตใจเลื่อนลอย เป็นต้น
4. ความสามารถในการถอดรหัสสัญญาณของผู้รับสาร ได้แก่ ข้อจำกัดในการรับสัญญาณและการแปลความหมาย ซึ่งจำแนกได้ดังนี้
4.1 อุปสรรคทางด้านภาษา (Verbalism) ได้แก่ ความไม่เข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อภาษาที่
ใช้ในการสื่อความหมาย
4.2 ความขัดแย้งกับประสบการณ์เดิม (Referent Confusion)
4.3 ขีดจำกัดของการรับรู้จากประสาทสัมผัส (Limited Perception)
4.4 สภาพร่างกายที่ไม่พร้อม (Physical Discomfort)
4.5 การไม่ยอมรับ(Inpercerption)
4.6 จินตภาพ (Image) ของข่าวสารไม่ตรงกัน


9. จงอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสาร การรับรู้ และการเรียนรู้
ตอบ การสื่อสาร เป็นกระบวนการที่มนุษย์ติดต่อถ่ายทอดเรื่องราว แลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร สร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารโดยผ่านสื่อต่างๆ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้รับอย่างมีวัตถุประสงค์ ดังนั้นการถ่ายทอดความรู้ในการเรียนการสอน ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน จึงจำเป็นต้องดำเนินไปตามกระบวนการการสื่อสารด้วยเช่นกัน
ในการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้บังเกิดประสิทธิภาพ จำเป็นที่ผู้สอนจะต้องนำกระบวนการสื่อสารมาปรับใช้กับกระบวนการเรียนการสอน เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพของสื่อ และการป้องกันสิ่งรบกวน เป็นต้น

วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

การสื่อสารและการเรียนรู้

ความหมายการสื่อสาร หรือ การสื่อความหมาย (Communication) เป็นคำที่รากศัพท์มาจากภาษาลาตินว่า "communius" หมายถึง "พร้อมกัน" หรือ "ร่วมกัน" (common) หมายความว่า เมื่อมีการสื่อสารระหว่างกันเกิดขึ้น คนเราพยายามที่จะสร้าง "ความพร้อมกันหรือความร่วมกัน" ทางด้านความคิดเรื่องราวเหตุการณ์ ทัศนคติ ฯลฯ กับบุคคลที่เรากำลังสื่อสารด้วยนั้น ดังนั้น การสื่อสารจึงหมายถึง การถ่ายทอดเรื่องราว การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การแสดงออกของความคิดและความรู้สึก ตลอดรวมไปถึง "ระบบ" (เช่น ระบบโทรศัพท์) เพื่อการติดต่อสื่อสารข้อมูลซึ่งกันและกัน (Webster's Dictionary 1978 : 98) นอกจากนี้ การสื่อสารยังเป็นการที่บุคคลในสังคมมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันโดยผ่านทางข้อมูลข่าวสาร สัญลักษณ์ตลอดจนเครื่องหมายต่าง ๆ ด้วย
ลักษณะของการสื่อสาร
1. วิธีการการสื่อสาร แบ่งออกได้ 3 วิธี คือ
1.1 การสื่อสารด้วยวาจา หรือ "วจภาษา" (Oral Communication) เช่น การพูด การร้องเพลง เป็นต้น
1.2 การสื่อสารที่มิใช่วาจา หรือ "อวจนภาษา" (Nonverbal Communication) และการสื่อสารด้วยภาษาเขียน (Written Communication) เช่น การสื่อสารด้วยท่าทาง ภาษามือและตัวหนังสือ เป็นต้น
1.3 การสื่อสารด้วยการใช้จักษุสัมผัสหรือการเห็น (Visual Communication) เช่น การสื่อสารด้วยภาพ โปสเตอร์ สไลด์ เป็นต้น (Eyre 1979:31) หรือโดยการใช้สัญลักษณ์และเครื่องหมายต่าง ๆ เช่น ลูกศรชี้ทางเดิน เป็นต้น

2. รูปแบบของการสื่อสาร แบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ คือ
2.1 การสื่อสารทางเดียว (One - Way Communication) เป็นการส่งข่าวสารหรือการสื่อความหมายไปยังผู้รับแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยที่ผู้รับไม่สามารถมีการตอบสนองในทันที (immediate response) ให้ผู้ส่งทราบได้ แต่อาจจะมีปฏิกิริยาสนองกลับ (feedback) ไปยังผู้ส่งภายหลังได้ การสื่อสารในรูปแบบนี้จึงเป็นการที่ผู้รับไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันได้ทันที จึงมักเป็นการสื่อสารโดยอาศัยสื่อมวลชน เช่น การฟังวิทยุ หรือการชมโทรทัศน์ เหล่านี้เป็น

3. ประเภทของการสื่อสาร แบ่งได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
3.1 การสื่อสารในตนเอง (Intapersonal or Self-Communication) เป็นการสื่อสารภายในตัวเอง หมายถึง บุคคลผู้นั้นเป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับในขณะเดียวกัน เช่น การเขียนและอ่านหนังสือ เป็นต้น
3.2 การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication) เป็นการสื่อสารระหว่างคน 2 คน เช่น การสนทนา หรือการโต้ตอบจดหมายระหว่างกัน เป็นต้น
3.3 การสื่อสารแบบกลุ่มชน (Group Communication) เป็นการสื่อสารระหว่างบุคคลกับกลุ่มชนซึ่งประกอบด้วยคนจำนวนมาก เช่น การสอนในห้องเรียนระหว่างครูเพียงคนเดียวกับนักเรียนทั้งห้อง หรือระหว่างกลุ่มชนกับบุคคล เช่น กลุ่มชนมาร่วมกันฟังคำปราศรัยหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้ง เป็นต้น
3.4 การสื่อสารมวลชน (Mass Communication) เป็นการสื่อสารโดยการอาศัยสื่อมวลชนประเภทวิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ และสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เช่น นิตรสาร หนังสือพิมพ์ แผ่นพับ แผ่นโปสเตอร์ ฯลฯ เพื่อการติดต่อไปยังผู้รับสารจำนวนมากซึ่งเป็นมวลชนให้ได้รับข้อมูลข่าวสารเดียวกันในเวลาพร้อม ๆ
องค์ประกอบของการสื่อสาร
1. ผู้ส่ง ผู้สื่อสาร หรือต้นแหล่งของการส่ง (Sender, Communicatior or Source) เป็นแหลหรือผู้ที่นำข่าวสารเรื่องราว แนวความคิด ความรู้ ตลอดจนเหตุการณ์ต่าง ๆ เพื่อส่งไปยังผู้รับซึ่งอาจเป็นบุคคลหรือกลุ่มชนก็ได้ ผู้ส่งนี้จะเป็นบุคคลเพียงคนเดียว กลุ่มบุคคลหรือสถาบัน โดยอยู่ในลักษณะต่าง ๆ ได้หลายอย่าง
2. เนื้อหาเรื่องราว (Message) ได้แก่ เนื้อหาของสารหรือเรื่องราวที่ส่งออกมา เช่น ความรู้ ความคิด ข่าวสาร บทเพลง ข้อเขียน ภาพ ฯลฯ เพื่อให้ผู้รับรับข้อมูลเหล่านี้
3. สื่อหรือช่องทางในการนำสาร (Media or Channel) หมายถึง ตัวกลางที่ช่วยถ่ายทอดแนวความคิด เหตุการณ์ เรื่อราวต่าง ๆ ที่ผู้ส่งต้องการให้ไปถึงผู้รับ
4. ผู้รับหรือกลุ่มเป้าหมาย (Receiver or Target Audience) ได้แก่ ผู้รับเนื้อหาเรื่องราวจากแหล่งหรือที่ผู้ส่งส่งมา ผู้รับนี้อาจเป็นบุคคล กลุ่มชน หรือสถาบันก็ได้
5. ผล (Effect) หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้ส่งส่งเรื่องราวไปยังผู้รับ ผลที่เกิดขึ้นคือ การที่ผู้รับอาจมีความเข้าใจหรือไม่รู้เรื่อง ยอมรับหรือปฏิเสธ พอใจหรือโกรธ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เป็นผลของการสื่อสาร และจะเป็นผลสืบเนื่องต่อไปว่าการสื่อสารนั้นจะสามารถบรรลุผลตามจุดมุ่งหมายหรือไม่ ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับทัศนคติของผู้รับ สื่อที่ใช้ และสถานการณ์ในการสื่อสารเป็นสำคัญด้วย
6. ปฏิกริยาสนองกลับ (Feedback) เป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องจากผลซึ่งผู้รับส่งกลับมายังผู้ส่งโดยผู้รับอาจแสดงอาการให้เห็น เช่น ง่วงนอน ปรบมือ ยิ้ม พยักหน้า การพูดโต้ตอบ หรือการแสดงความคิดเห็น เพื่อเป็นข้อมูลที่ทำให้ผู้ส่งทราบว่า ผู้รับมีความพอใจหรือมีความเข้าใจในความหมายที่ส่งไปหรือไม่ปฏิกริยาสนองกลับนี้คือข้อมูลย้อนกลับอันเกิดจากการตอบสนองของผู้รับที่ส่งกลับไปยัง
ปัญหาของการสื่อความหมาย
การสื่อความหมายจะได้ผลดีที่สุดก็ต่อเมื่อผู้รับสามารถเข้าใจตรงกับที่ผู้ส่งต้องการ (ผลที่ได้ตรงกับจุดมุ่งหมาย) แต่ในกระบวนการสื่อความหมายนั้นจะต้องมีอุปสรรคเกิดขึ้นเสมอ และอุปสรรคเหล่านี้เองที่ทำให้ผลของการสื่อความหมายผิดพลาดไปจากเป้าหมายที่ผู้ส่งต้องการ ดังนั้นปัญหาของการสื่อความหมายก็เกิดขึ้นเนื่องจากอุปสรรคต่าง ๆ นั่นเอง ในที่นี้จะพิจารณาเฉพาะปัญหาที่สำคัญที่เกิดขึ้นเฉพาะในด้านผู้ส่งสาร ผู้รับสารและทางด้านเนื้อหาเท่านั้นคือ


1. ปัญหาทางด้านผู้ส่งสาร เช่น
1.1 พูดไม่ชัดเจน ข้อความและคำพูดไม่ได้ใจความ
1.2 พูดเร็ว เบา เกินไป
1.3 อารมณ์ และคำพูดไม่เหมาะสม
1.4 เสียงอื่น ๆ รบกวน
1.5 ภาษาที่ใช้ต่างกัน ฯลฯ

2. ปัญหาทางด้านผู้รับสาร เช่น
2.1 ไม่ตั้งใจฟัง
2.2 มีเสียงรบกวน
2.3 มีการขัดจังหวะเวลาพูดหรือส่งข้อความ
2.4 ความพิการทางประสาทรับความรู้สึกต่างๆ
2.5 ปัญหาทางด้านอารมณ์และมีเจตคติไม่ดีต่อผู้ส่ง ฯลฯ

3. ปัญหาทางด้านเนื้อหา เช่น
3.1 ยาวเกินไป
3.2 สั้นเกินไปไม่ได้ความ ตัวหนังสืออ่านไม่ออก
3.3 ภาษาต่างกัน
3.4 เนื้อหาถูกถ่ายทอดหลายขั้น

วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2552

แบบฝึกหัด จงอธิบายคำถามให้ได้ใจความสมบูรณ์

1. อธิบายความหมายของระบบและวิธีระบบได้
-ความหมายของระบบระบบ (System) หมายถึง การรวมกลุ่มของสิ่งต่าง ๆ หรือกระบวนการต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กัน เพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้ หากสิ่งใดหรือกระบวนการใดมีการเปลี่ยนแปลง จะกระทบกระเทือนสิ่งอื่น ๆ หรือกระบวนการอื่น ๆ ไปด้วยสรุป ได้ว่า ระบบจะต้องมี1. องค์ประกอบ 2. องค์ประกอบจะต้องมีความสัมพันธ์กัน 3. ระบบต้องมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจกรรมนั้น ๆ

2. บอกองค์ประกอบของระบบและยกตัวอย่างขององค์ประกอบแต่ละอย่างได้
-ระบบโดยทั่วไป จะมีองค์ประกอบดังนี้2.2.1 สิ่งนำเข้า (Input) ได้แก่ การกำหนดปัญหา จุดมุ่งหมายทรัพยากรที่ใช้ 2.2.2 กระบวนการ (Process) ได้แก่การลงมือแก้ปัญหา การวิเคราะห์ข้อมูล การนำวัตถุดิบมาใช้ มาจัดกระทำอย่างเหมาะสมเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมาย 2.2.3 ผลผลิต (Output) คือผลที่ได้จากการแก้ปัญหาหรือสรุปการวิเคราะห์เพื่อประเมินต่อไป 2.2.4 ผลย้อนกลับ (Feedback) คือการตรวจสอบผลผลิตเพื่อปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพต่อไป ซึ่งองค์ประกอบดังกล่าวจะมีความสัมพันธ์กันในการกำหนดขั้นตอนการดำเนินงานและการแก้ปัญหาเพื่อทำให้ผลที่ได้มีประสิทธิภาพการดำเนินงานลักษณะนี้เรียกว่า วิธีระบบ (System Approach)

3. บอกความสำคัญของวิธีระบบกับกระบวนการการสอนได้
-เป็นการนำเอารูปแบบของระบบมาใช้ในการจัดทำโครงร่าง และกรอบของการจัดการเรียนการสอน ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินการเรียนการสอน เป็นไปอย่างมีขั้นตอนที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ทำให้ผลที่ได้เกิดประสิทธิผลตามจุดมุ่งหมายที่ต้องการตามแผนภาพที่แสดงให้เห็น การกำหนดระบบการสอน

4. วิเคราะห์ขั้นตอนของรูปแบบจำลอง ASSURE ในการนำมาใช้ในการวางแผนการสอนได้
-เป็นวิธีระบบรูปแบบหนึ่งที่นำมาจากแนวคิดของไชน์พิชและคณะ (1993) โดยมีระบบการดำเนินงานตามลำดับขั้นดังนี้A = ANALYZE LEARNER'S CHARACTERISTICS การวิเคราะห์ผู้เรียน ที่สำคัญได้แก่ การวิเคราะห์พฤติกรรมเบื้องต้น และความต้องการของผู้เรียน ทั้งในด้าน 1. ข้อมูลทั่วไป เช่น อายุ เพศ ระดับการศึกษา เจตคติ ระบบสังคม วัฒนธรรม 2. ข้อมูลเฉพาะ ซึ่งเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเรียนการสอน เช่น ประสบการณ์เดิม ทักษะ เจตคติ ความรู้พื้นฐาน และความสามารถในบทเรียนนั้นเพียงใด การวิเคราะห์จะช่วยให้ผู้สอน สามารถตัดสินใจเลือกสื่อและจุดมุ่งหมายการเรียน การสอนได้อย่างเหมาะสม1. วิธีการปฏิบัติ PERFORMANCE (ทำอะไร) การเขียนจุดมุ่งหมายควรใช้คำกริยาหรือข้อความที่สังเกตพฤติกรรมได้ เช่น ให้คำจำกัดความ อธิบาย บอก หรือจำแนก เป็นต้น 2. เงื่อนไข CONDITIONS (ทำอย่างไร) การเขียนจุดมุ่งหมายการเรียนควรกำหนดเงื่อนไขที่จำเป็นภายใต้การปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ การกำหนดเงื่อนไข เช่น บวกเลขในใจโดยไม่ใช้กระดาษวาด หรือ ผสมแป้งโดยใช้ช้อน เป็นต้น 3. เกณฑ์ CRITERIA (ทำได้ดีเพียงไร) มาตรฐานการปฏิบัติซึ่งควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงเช่นระดับของความสามารถในการปฏิบัติ ระดับของความรู้ที่จำเป็น เพื่อการศึกษาต่อในหน่วยการเรียนที่สูงขึ้นไปS = SELECT, MODIFY OR DESIGN MOTHODS AND MATERIALS การกำหนดสื่อการเรียนการสอน อาจดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 ประการดังนี้ คือ 1) การเลือกใช้สื่อการเรียนการสอน 2) ดัดแปลงจากสื่อวัสดุที่มีอยู่แล้ว 3) การออกแบบสื่อใหม่U = UTILIZE METHODS AND MATERIALS กิจกรรมการใช้สื่อการเรียนการสอน พิจารณาได้ 3 ลักษณะคือ 1) การใช้สื่อประกอบการสอนของผู้สอน เช่น ประกอบคำบรรยาย และอธิบาย 2) การใช้สื่อเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนของผู้เรียน เช่น ชุดการสอน บทเรียนด้วยตนเอง 3) การใช้สื่อร่วมกันระหว่างผู้เรียนและผู้สอน เช่น เกม สถานการณ์จำลอง และการสาธิต การมีส่วนร่วมของผู้เรียน การใช้สื่อการเรียนการสอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมี ส่วนร่วมหรือได้ลงมือกระทำร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนได้มากที่สุด

5. ยกสถานการณ์การสอนที่สอดคล้องกับรูปแบบจำลอง ASSURE ได้ถูกต้อง
-การรวบรวมสถิติของนักเรียนที่ชอบกินผักและไม่ชอบกินผัก แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์และสรุปผล

6. บอกวิธีการพิจารณาในการออกแบบการสอนได้ถูกต้อง
-1. โปรแกรมการสอนนี้ จะออกแบบสำหรับใคร (คำตอบก็คือ ผู้เรียน ดังนั้น ขั้นแรกจึงต้องศึกษา คุณลักษณะของผู้เรียน) 2. ต้องการให้ผู้เรียนเรียนรู้อะไร หรือมีความสามารถที่จะทำอะไรได้บ้าง (คำตอบก็คือจุดมุ่งหมายการเรียน) 3. เนื้อหาวิชาหรือทักษะต่าง ๆ ที่ผู้เรียนจะต้องศึกษาให้บรรลุจุดมุ่งหมายของการเรียนนั้นจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดอย่างไร (คำตอบก็คือต้องคิดหาวิธีสอน สื่อและกิจกรรมการเรียนการสอน ฯลฯ) 4. จะรู้ได้อย่างไรว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้หรือไม่ หรือเกิดการเรียนรู้มากน้อยเพียงใด (คำตอบก็คือ ต้องคิดหาวิธีประเมิน

7.จงยกตัวอย่างการนำความรู้เรื่องวิธีระบบไปประยุกต์ใช้กับการเรียน หรือการดำเนินชีวิตประจำวันของท่าน มา 1 ตัวอย่าง พร้อมอธิบายขั้นตอนและวิธีดำเนินการ
-การเรียนเทคโนโลยีทางการศึกษาที่ต้องตอบคำถามโดยการส่งผ่านทางblogโดยที่สามารถไม่ต้องพบกับอาจารย์ผู้สอนโดยตรงเเต่ใช้blogเป็นสื่อการเรียนการสอนได้

วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552

คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่1

1.จงบอกความหมายของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษามาอย่างถูกต้อง
ตอบ เทคโนโลยีคือการนำเอาขบวนการ วิธีการ และแนวความคิดใหม่ๆ มาใช้อย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพแต่นวัตกรรมคือความคิดและการกระทำใหม่ๆมาปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

2.จงยกตัวอย่างเทคโนโลยีและนวัตกรรมในสาขาต่างๆมาอย่างน้อย 5 สาขา
ตอบ 1.เทคโนโลยีทางการทหาร
2.เทคโนโลยีทางการแพทย์
3.เทคโนโลยีทางการเกษตร
4.เทคโนโลยีทางการสื่อสาร
5.เทคโนโลยีทางการศึกษา

3.จงอธิบายเปรียบเทียบความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษาตามทัศนะทางวิทยาศาสตร์กายภาพและทางพฤติกรรมศาสตร์ให้ชัดเจน
ตอบ ทัศนะทางวิทยาศาสตร์กายภาพคือจะมุ่งเน้นไปที่วัสดุอุปกรณ์แต่ทัศนะทางพฤติกรรมศาสตร์คือการมุ่งเน้นไปที่พฤติกรรมของมนุษย์

4.จงบอกความหมายของการศึกษาตามความเข้าใจของบุคคลในระดับต่างๆอย่างน้อย 3 ระดับ
ตอบ 1.บุคคลธรรมดาสามัญ
2.บุคคลในวิชาชีพทางการศึกษา
3.บุคคลที่เป็นนักศึกษา

5.เทคโนโลยีการศึกษามีกี่ระดับ แต่ละระดับมีความหมายว่าอย่างไร จงอธิบายพอเข้าใจ
ตอบ มี 3 ระดับคือ
1.ระดับอุปกรณ์การสอนคือใช้เทคโนโลยีการสอนในระดับเครื่องช่วยการสอนของครู
2.ระดับวิธีสอนคือใช้เทคโนโลยีแทนการสอนด้วยตัวครูเอง
3.ระดับการจัดระบบการศึกษาคือใช้เทคโนโลยีการศึกษาระดับกว้างสามารถตอบสนองผู้เรียนได้จำนวนมาก

6.จงอธิบายข้อแตกต่างและความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้ชัดเจน
ตอบ ข้อแตกต่างคือเทคโนโลยีคือนำของเก่ามาพัฒนาส่วนนวัตกรรมคือการคิดขึ้นใหม่และความสัมพันธ์คือนำมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

7.จงบอกถึงขั้นตอนของการเกิดนวัตกรรมมาให้ถูกต้อง
ตอบ 1.การประดิษฐ์คิดค้น
2.ขั้นการพัฒนาการ
3.ขั้นการนำไปใช้หรือปฏิบัติจริง

8.จงบอกถึงบทบาทของเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษากับการจัดการเรียนการสอนมาอย่างน้อย 5 ข้อ
ตอบ 1.ช่วยให้ผู้เรียนเรียนได้กว้างขวางมากขึ้น
2.ให้การจัดการศึกษาดีขึ้น
3.มีบทบทาทสำคัญต่อการพัฒนาสื่อการสอน
4.ช่วยเพิ่มโอกาสทางการศึกษาของผู้เรียน
5.ทำให้ผู้เรียนไม่เน้นความรู้อย่างเดียว

9.จงยกตัวอย่างวัตกรรมการศึกษาในปัจจุบันอย่างน้อย 3 ชนิด
ตอบ 1.การสอนแบบโปรแกรม
2.ศูนย์การเรียน
3.ชุดการสอน

10.จงอธิบายถึงสาเหตุของการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ทางการศึกษาอย่างน้อย 3 ข้อ
ตอบ 1.การเพิ่มจำนวนประชากร
2.การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม
3.ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาการใหม่

11.จงอธิบายถึงแนวคิดในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมกับการศึกษาไทยอย่างน้อย 5 ข้อ
ตอบ 1.ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่สมบูรณ์
2.ทำให้ผ้เรียนมีคุณภาพของการสำเร็จการศึกษา
3.จัดการศึกษาให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
4.ต้องการให้ผู้เรียนทำงานสำเร็จด้วยตนเอง
5.จ้การศึกษาอย่างเป็นระบบ

12.จงยกตัวอย่างและแนวทางในการแก้ไขของการขาดลักษณะที่พึงประสงค์ของคนไทยมาอย่างน้อย 3 ประการ
ตอบ 1.กล้าและรู้จักแสดงความคิดเห็น
2.สามารถตัดสินใจด้วยตนเอง
3.รู้จักทำวานร่วมกันป็นหมู่อย่างมีประสิทธิภาพ

ทำไมครูจึงจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีการศึกษา

1.เพื่อให้มีจุดสนใจในการเรียนมากขึ้น

2.มีประสิทธิภาพ สะดวก รวดเร็วในการใช้งาน

3.ประหยัดเวลาในการสอนมากยิ่งขึ้น

4.ทำการเรียนการสอนให้เป็นระบบมากยิ่งขึ้น

5.ช่วยถ่ายทอดความรู้ใหม่ๆให้แก่นักศึกษา

6.เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษาและนำมาดัดแปลง
เพื่อใช้ในการทำงานของตนเองได้